วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

                      หมายถึง  การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ  อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
ลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีดังนี้  (อาภรณ์  ใจเที่ยง,2544)
             
     1.  Active Learning  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ  หรือปฏิบัติด้วยตนเอง                        
                 
2.  Constructivism  ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าทดลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงจนเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
                  3.  Resource  ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  ที่หลากหลาย
                  4.  Thinking Skills  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด  ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหา  คิดวิเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                  5.  Happiness  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข
                  6.  Participation  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดงานวางเป้าหมายร่วมกัน           
                 
7.  Individualization  ผู้สอนยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
                 
8.  Good Habit  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น  ความรับผิดชอบ  ความมีน้ำใจ ความมีระเบียบวินัย  และลักษณะนิสัยในการทำงาน  กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่น  และการเห็นคุณค่าของงาน
บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีดังนี้   (ชาติแจ่มนุช และคณะ : มทป)
                  1.  เป็นผู้จัดการ (Manager)           
                
2. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งเรียนรู้ (Helper and resource)

                 
3.  เป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนกระบวนการเรียนการสอน  (Facilitator)
  4.  เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ (Monitor)
บทบาทของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. 2543 : 38-39)
                  1.  เป็นผู้ลงมือกระทำ (Actor)                                 2.  เป็นผู้มีส่วนร่วม (Participant)
                 
3.  เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้เรียน (Member)            4.  เป็นผู้ประเมิน (Evaluator)
การวัดและประเมินผล
                  จะนิยมใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)  ได้แก่  การใช้ Portfolio
การใช้แบบทดสอบความสามารถจริง
(Authentic Test)  การสังเกต  การบันทึกพฤติกรรม  การสัมภาษณ์  การสาธิต  การนำเสนอผลงาน
              การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  เช่น  เกมการศึกษา  สถานการณ์จำลอง  กรณีตัวอย่าง  บทบาทสมมุติ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การทดลอง  การแก้ปัญหา ทัศนศึกษานอกสถานที่  สืบสวนสอบสวน  โมเดลซิปปา                 
กล่าวโดยสรุป
 การจัดกิจกรรมที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเรียน  ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ  ได้ประยุกต์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิต  ได้มีความสุขและสนุก
กับการเรียนรู้  ตลอดจนมีคุณลักษณะนิสัยดีงามที่สังคมพึงปรารถนา
                                                                 หนังสืออ้างอิง
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (ร่าง) การปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. เอกสารอัดสำเนา, 2543.
ชาติ แจ่มนุช และคณะ. นักเรียนเป็นศูนย์กลางคืออย่างไร. เอกสารอัดสำเนา, มปป.
ประเวศ วะสี. ปฏิรูปการศึกษา-ยกเครื่องทางปัญญา : ทางรอดจากความหายนะ. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร :
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, 2541.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. การพัฒนากระบวนการคิด.เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนารูปแบบ การสอนที่เน้นกระบวนการคิดตามแนวปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้, นครปฐม : ศูนย์ศึกษาพัฒนาครู คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม, 2543.
วิชัย วงษ์ใหญ่.พลังการเรียนรู้ : ในกระบวนการทัศน์ใหม่.(พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพหานคร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2542
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ, การเรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลสมัยจำกัด, 2543.
(ที่มา บทความเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย ผศ.อาภรณ์ ใจเที่ยง วารสารครุสาร คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2544)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น